บริษัท บี เอ็น คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด

บริษัท บี เอ็น คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด

เมนู

ทำรายการงานพื้น

การเทพื้นคอนกรีต

  • ข้อดีของการเทพื้นคอนกรีต
    -พื้นคอนกรีตที่ได้มีความคงทน และทนทาน อายุใช้งานยาวนาน
    -พื้นคอนกรีตสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี และรองรับน้ำหนักได้มาก หมดปัญหาเรื่อง ของน้ำหนัก
    -สามารถออกแบบเองได้ ว่าต้องการแบบไหน และขัดออกมาแบบใด
    ขั้นตอนของการเทพื้นคอนกรีต
    -เคลียร์พื้นที่ ปรับพื้นให้ได้ระดับตามที่ต้องการ
    -ทากันซึมจระเข้
     Flex 
    -ปู Wrie mesh ตามขนาดที่ลูกค้ากำหนด
    -ทำการกั้นแบบ
    -เทพื้น ปรับพื้นฉาบหน้า ปาดขัดให้เรียบ
    - ขัดหน้าพื้น(ขัดหยาบ)
    -เมื่อผิวคอนกรีตเซ็ตตัว เทปรับระดับพื้นอีกชั้น เพื่อเตรียมพร้อมที่จะขัด

    - เก็บทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อย

ลูกค้าเลือกใช้โครงสร้างเหล็กหลังคาเมทัลชีท

ลูกค้าเลือกใช้โครงสร้างเหล็กหลังคาเมทัลชีท

งานโครงหลังคา พร้อม หลังคา

โครงสร้างหลังคาแบ่งออกเป็น2ส่วน คือ 
1.โครงหลังคา มี 2 ประเภท คือ โครงหลังคาไม้ โครงหลังคาเหล็ก
2.วัสดุมุงหลังคา มีให้เลือกหลายประเภท ตั้งแต่กระเบื้องคอนกรีต สังกะสี ชิงเกิ้ล แลไฟเบอร์ ซีเมนต์ เลือกใช้ให้เหมาะสมกับที่อยู่อาศัยและสไตล์การตกแต่งได้
ขั้นตอนการขึ้นโครงสร้างหลังคา
1.ขึ้นเสาตั้งรับโครงสร้างหลังคา
2.วางอะเสรัดหัวเสา
3.วางจันทันโครงหลังคา
4.วางแปหลังคา
5.เชื่อมโครงสร้าง ตกแแต่ง ทาสี
6.วางแผ่นหลังคา
7.ตัดเชิงชายหลังคา
8.ติดรางน้ำฝน
9.ติดฝ้าหรือวางระแนง


งานโครงหลังคา พร้อม หลังคา

การขึ้นทำงานติดตั้งหลังคาขั้นตอนแรกจำเป็นต้องมีโครงหลังคาก่อน ไม่ว่าจะเป็นหลังคาบ้าน โรงเรือน หรือแม้แต่หลังคาโรงจอดรถทั่วไป ล้วนแล้วแต่ใช้เหล็กในการประกอบเป็นโครงสร้าง เพื่อความคงทนและแข็งแรงของโครงสร้างหลังคา หลายคนคงคิดว่าการวางโครงหลังคาเป็นเรื่องที่ยาก ไม่สามารถทำเองได้ แต่วันนี้เราจะมาอธิบายขั้นตอนในการทำโครงหลังคาแบบเข้าใจง่ายให้คุณเอง

แล้วมาดูกันว่าขั้นตอนในการทำโครงหลังคาเหล็กด้วยตัวเองจะยากอย่างที่คิดไว้ไหม มาดูกัน

  Step 1: ขึ้นเสาตั้งรับโครงหลังคา

สำหรับเสาตั้งรับโครงหลังคา ต้องเลือกใช้เสาเหล็กรูปพรรณ คาน และเหล็กกล่อง(เหล็กเสา) ที่มีความหนาตามมาตรฐานของการขึ้นโครงสร้างนั้นก็คือ 3.2 มิลลิเมตร เพื่อควมปลอดภัยของโครงสร้าง และความคงทนต่อการใช้งานเวลานาน

  Step 2: วางอะเสรัดหัวเสา

วางเหล็กอะเสบนหัวเสา บริเวณริมด้านนอกของเสา เพื่อทำหน้าที่รับแรงจากโครงสร้างของหลังคาทั้งหมดและเป็นตัวกลางในการถ่ายเทน้ำหนักลงสู่เสา อีกทั้งยังมีหน้าที่ยึดตัวโครงสร้างหลังคากัวหัวเสาอีกด้วย

 

Step 3: วางจันทันโครงหลังคาเหล็ก

  วางจันทัน เพื่อรองรับการวางแปสำหรับการวางกระเบื้องมุงหลังคา โดยการวางจันทันนั้นจะนิยมวางทุกระยะ 1 เมตร ทั้งนี้ทั้งนั้นการวางจันทันจะขึ้นอยู่กับระยะการวางแป และน้ำหนักของวัสดุสำหรับใช้มุงหลังคา

  Step 4: วางแปหลังคา

วางแป เพื่อเป็นตัวรองรับน้ำหนักของวัสดุสำหรับมุงหลังคา สำหรับเหล็กที่ใช้ในการวางแป ส่วนมากจะใช้เหล็กตัวซี เหล็กกล่อง หรือเหล็กกล่องไม้ขีด โดยการเลือกใช้เหล็กแต่ละแบบจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการมุงหลังคา

  Step 5: เชื่อมโครงสร้าง ตกแต่ง ทาสี

เมื่อวางโครงสร้างพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว อีกขั้นตอนที่ห้ามลืมเด็ดขาดเลยนั้นก็คือ การเชื่อมเหล็กโครงสร้าง โดยเชื่อมประกอบตามรอยต่อของเหล็ก เพื่อยึดให้ตัวเหล็กเชื่อมเป็นแผงเดียวกัน หากต้องการเพิ่มความแน่นคุณสามารถใช้น็อตยึดเพิ่มอีกก็ได้เช่นกัน ของเมื่อยึดโครงสร้างเรียบร้อยแล้ว หากต้องการทาสีก็สามารถทาได้ในขั้นตอนนี้เลย

  Step 6: วางแผ่นหลังคา  

 วางแแผ่นหลังคาลงบนแปที่วางไว้ โดยวางให้ชิดจั่ว สำหรับวัสดุในการมุงหลังคา ถ้าต้องการความสะดวก ไม่ยุ่งยาก ขอแนะนำให้ใช้เป็นหลังคาเหล็กเมทัลชีพ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นยาวติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา

  Step 7: ติดเชิงชายหลังคา

ขั้นตอนนี้จะต้องเชื่อมโครง เพื่อรองรับการติดตั้งเชิงชายกับจันทัน โดยใช้เหล็กยาวเชื่อมกับจันทันให้ยาวตลอดแนว เมื่อติดตั้งโครงสร้างกับจันทันเรียบร้อยแล้วให้ทำการติดเชิงชายหลังคาให้ยาวตลอดแนวขอบของจันทัน การติดตั้งโครงก่อนที่จะติดเชิงชายจะทำให้ตัวของเชิงชายมีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งานมากกว่า

  Step 8: ติดรางน้ำฝน 

หรับรางน้ำฝน แน่นอนอยู่แล้วว่ามีทั้งแบบรางน้ำมาตรฐานสำเร็จรูปและแบบผลิตใช้เองทั่วไป การเลือกรางน้ำให้มีความคงทนต่อการใช้งานแนะนพให้ใช้รางสำเร็จมากกว่า เนื่องจากมีความสะดวกสบายในการติดตั้งและคงทนต้องการใช้งานมาหหว่าแบบผลิตเองทั่วไป โดยรางน้ำสำเร็จรูปส่วนมากจะผลิตมาจากเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ที่มีคุณสมบัติที่สามารถทนการกัดกร่อนของน้ำ และรับน้ำหนักน้ำได้อย่างดี

  Step 9: ติดฝ้าหรือวางระแนง 

สำหรับขั้นตอนนี้สามารถเลือกได้ทั้งการติกฝ้าเพื่อความสวยงามของตัวหลังคา หรือจะเป็นการติดระแนงเพื่อเพิ่มช่องลมใต้หลังคาที่ทำให้บ้านเย็นขึ้น โดยการเลือกติดตั้งควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ขั้นตอนในการทำโครงสร้างหลังคาเป็นอะไรที่ดูจะยุ่งยาก แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำเองได้ดดยไม่ต้องจ้างช่างเลยก็ได้ หากคุณมีผู้ช่วยและอุปกรณ์พร้อมคุณก็สามารถทำได้ อีกทั้งการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่แข็งแรงและ คงทน มีมาตรฐานก็เป็นอีกสิ่งที่ควรคำนึง ไม่ว่าจะเป็นน็อตสกรู น็อตเกลียว น๊อตสแตนเลส เหล็กที่ใช้ในการประกอบโครงหลังคาเหล็กก็ล้วนเป็นสิ่งเล็กที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อความปลอดภัย และคงทนของหลังคาของเรา

ขั้นตอนงานโครงสร้าง

โครงสร้างหลังคา เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง ที่เจ้าของและผู้รับเหมาจะต้องคำนึงถึง ความปลอดภัยของผู้อาศัย คำนวณถึงเรื่องของการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคา ว่าจะใช้วัสถุและโครงสร้าง เพื่อการน้ำหนักของหลังคา ให้คงทน แข็งแรง มีความสวยงาม และอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้น วันนี้เราจะมาแนะนำทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของโครงสร้างหลังคากัน

โครงหลังคา คืออะไร?

โครงหลังคา เป็นหน้าตาของบ้านที่ทำให้เราดูดีและน่ามอง โดยโครงหลังคาทำหน้าที่ รับน้ำหนักของกระเบื้องหลังคาและวิธีการมุงหลังคา ให้มีความแข็งแรงและความมั่งคง แล้วยังทำหน้าที่ยึดตัวหลังคาบ้านเข้ากับโครงสร้างของเสากับคาน ของตัวบ้าน โดยควรเลือก วัสดุโครงสร้างของหลังคาที่มี ความคงทน ต่อทุกสภาพอากาศ และที่สำคัญคือเรื่องของการติดตั้ง เพื่อให้หลังคาออกมา ดูเรียบร้อย และสวยงาม
โดย โครงสร้างหลังคาที่นิยมในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
• โครงหลังคาไม้
• โครงหลังคาเหล็ก
• โครงสร้างหลังคาสำเร็จรูป

   
โครงหลังคาแบบไม้

โครงหลังคาไม้เป็นที่นิยมใช้กันมากในสมัยก่อน ด้วยเพราะต้นทุนของวัสดุต่ำ
ขั้นตอนของการขึ้นปลูกสร้าง ไม่ได้มีความยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือมาก
แต่ในสมัยปัจจุบัน บ้านเรือนส่วนใหญ่จะปลูกรูปแบบเป็นตึก
ประกอบกับไม้เป็นวัสดุที่หายาก และมีราคาแพงขึ้นโดยเฉพาะไม้ได้คุณภาพของไม้ที่ดี ที่ให้ความแข็งแรงทนทาน ละคงรูปก็ยิ่งหายาก และมีราคาแพง นอกจากนี้ โครงหลังคาไม้ ยังอาจมีปัญหาของปลวกเกิดขึ้นได้ในภายหลัง และในสมัยนี้การใช้งานโครงหลังคาไม้จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมทำกันในปัจจุบัน สำหรับบ้านและอาคาร ก็ยังมีการใช้กันอยู่สำหรับบ้านไม้  


โครงหลังคาแบบเหล็ก

โครงสร้างหลังคาเหล็ก โครงหลังคาที่ได้รับความนิยม ใช้กันในปัจจุบัน
เพราะเหล็กเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องตลาด อีกทั้งมีแบบและขนาดให้เลือกอย่าง
มากมายเลือกให้เหมาะสมกับการรับน้ำหนัก และรูปแบบที่แตกต่างกันของแบบแต่ละหลังนอกจากนี้เหล็กยังเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง และคงรูปเป้นอย่างดี ปราศจากปัญหา
เรื่องปลวกรบกวน ในเรื่องของความคงทนกับการใช้งานนั้น เลือกเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิม เช่น การชุบสังกะสี หรือการเคลือบสีอย่างดี จะทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหลายสิบปี


โครงหลังคาแบบหลังคาสำเร็จรูป

เป็นนวัตกรรมใหม่กับการบริการ เหมามุงหลังคา ทางเลือกใหม่ในการสร้างหลังคา
ที่เจ้าของบ้านประหยัดงบให้ได้เป็นอย่างดีและปลอดภัย โดยโครงสร้างของหลังคาสำเร็จรูป ผลิตจากเหล็กที่มีกำลังดึงที่สูง G550 ซึ่งสูงกว่าเหล็กรูปพรรณ ถึง 2 เท่า ติดตั้งด้วยระบบสกรู ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดของสนิมได้น้อยกว่าการเชื่อม และสามารถมองได้ด้วยตาป่าว ตัววัสดุเหล็กเคลือบโลหะป้องกันสนิมจากโรงงานไม่ต้องทาสีกันสนิทที่หน้างาน และไม่ต้องเชื่อม ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและจำกัดงบประมาณได้

ส่วนประกอบ โครงสร้างหลังคาจะมี

แป หรือ ระแนง (Batten)

• ทำหน้าที่รองรับกระเบื้องหลังคา ประเภทต่าง ๆ มีลักษณะ เป็นไม้ สี่เหลี่ยม จตุรัส ที่วางอยู่บนจันทัน วางห่างกันตามขนาด ของกระเบื้อง ที่ใช้โดยวาง ขนานกับแนวอกไก่

จันทัน (Rafter)

• ส่วนที่วางเอียง ตามลักษณะ ของหลังคา วางอยู่บนอเสและอกไก่ มีหน้าที่รองรับแป สำหรับรับกระเบื้องมุงหลังคา โดยปกติจะวางเป็นระยะทุก 1 เมตร มีทั้งวางบนหัวเสา และ ไม่ได้วางพาดบนหัวเสา ซึ่งระยะห่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ของวัสดุ มุงหลังคาและ ระยะแป

อกไก่ (Ridge)

• วางพาด อยู่บนดั้ง บริเวณสันหลังคา เพื่อรับน้ำหนัก จันทันตามแนวสันหลังคา อยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคา รวมถึงมีหน้าที่ แบกรับน้ำหนักของจันทัน ทุกตัว ทั้ง 2 ด้าน

ดั้ง (King Post)

• เสาเสริม ที่คอยทำหน้าที่รองรับอกไก่ เมื่อตำแหน่งของอกไก่ วางไม่ตรงกัน เสาของอาคาร

ขื่อ ( Tie Beam)

• เมื่อดั้งเข้ามาแบกรับน้ำหนัก และถ่ายน้ำหนัก ต่อไป ยังคาน จึงต้องมี ขื่อ เพื่อแบกรับดั้ง และถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาอาคาร ต่อไป

อเส (Stud Beam)

• คานชั้นบนสุด ของอาคาร ที่ยึดปลายเสา ตอนบน เพื่อทำให้โครงสร้าง มีความแข็งแรง และ ถ่ายเทน้ำหนักลงสู่เสา มีหน้าที่ช่วย แบกรับน้ำหนัก ของจันทัน แต่ละตัว

เชิงชาย

• มีหน้าที่บดบัง ความไม่สวยงาม จากปลายชายคา ของจันทันทุกตัว ป้องกันการผุ ของไม้ ที่ปลายจันทัน จากการโดนแดด และ ฝน

โดยการเลือก ไม้เชิงชาย นั้น ก็ถือว่าสำคัญเช่นกัน ควรเลือกที่มีคุณสมบัติ คงทน แข็งแรง เพราะด้วยหน้าที่ ที่ต้องคอยป้องกันจันทัน จากสภาพอากาศต่าง ๆ

หลังคาคอนกรีต หรือ “กระเบื้องคอนกรีต” เหมาะกับบ้านแบบไตล์ไหนบ้าง? 

บ้านเป็นการตกแต่งสไตล์ของแล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป อยู่ที่ความชอบส่วนตัว กับคำแนะนำต่างๆ แต่วัสดุที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของบ้านนั้น คือ “หลังคาบ้าน” ซึ่งการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสไตล์บ้านของเรานั้นไม่ใช้เรื่องที่ยาก วันนี้เราของแนะนำ บ้านสไตล์ไหนที่เหมาะกับ “กระเบื้องคอนกรีต”กัน เราไปดูกันเลย

แล้วกระเบื้องคอนกรีตที่ว่ามา มีอะไรบ้าง?  

  สีเทาคาซ่า

  สีเทานิลมังกร

  สีเทาพยับหมอก  

  1.กระเบื้อง CT เพชร (CT Phet)

กระเบื้องคอนกรีตที่มีรูปลอนโค้งแบบกาบกล้วย ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ แกร่งทน รับน้ำหนักได้อย่างดีด้วยแกนกลาง 2 แนว และออกแบบให้มีรางกันน้ำ 2 แนว และบัวกันน้ำ 3 ชั้น ช่วยให้ระบายน้ำได้เร็ว และยังมีเฉดสีให้เลือกมากมายเลย  

  สีส้มฟลอเรนซ์ด

  สีน้ำเงินกรอตโต 

  สีแดงโรมัน   

  2.กระเบื้อง CT เวนิส (CT Venice)

กระเบื้องคอนกรีตรูปลอนโค้งสูง ปลายกระเบื้องโค้งมน ทำให้บ้านดูมีเสน่ห์ สไตล์อิตาลี งดงาม โดดเด่น ด้วยมิติจากแสงและเงา มีแกนกลาง 2 แนว ทำให้กระเบื้อง สามารถ รับแรงได้อย่าง ดีเยี่ยม และมีร่องราง ที่ลึกช่วยให้ระบายน้ำได้ดี กว่ากระเบื้อง ทั่วไป อีกทั้ง ยังมีบัวกันน้ำ 3 ชั้น กว้างกว่าทำให้ กันน้ำไหลย้อนได้ดี  

  สีเทาสินทรัพย์

  สีเทาเศรษฐี 

  สีเทาอัคนิล

 

  3.กระเบื้อง อดามัส (ADAMAS)

เรียบหรูสไตล์โมเดิร์น สวยงามทุกมุมมอง พ่นสีด้วยระบบ Wet on Wet ทำให้สีติดคงทนยาวนาน และออกแบบให้มีบัวกั้นน้ำ 3 ชั้น เพื่อป้องกันการไหลย้อนของน้ำฝน ทั้งยังแข็งแรง ทนทาน ด้วยแกนกลางรับแรง 2 แนว มาพร้อมความโดดเด่นไม่ซ้ำใคร 2 สไตล์
Chalet Shake เรียบและมีร่องตรงกลาง สร้างมิติ ตัดเหลี่ยมมุมสะท้อนมุมมองให้หลังคาดูโดดเด่น
Smooth Tile กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ แต่ให้ความรู้สึกแบบหรูหรา  

เรามาดูบ้านสไตล์ไหน เหมาะกับกระเบื้องคอนกรีต ประเภทไหนกันบ้าง?

  แบบบ้านสไตล์ร่วมสมัย (Contemporary Style)  

 ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ร่วมสมัย โดยปัจจุบันโครงการบ้านใช้กัน เพราะคือการผสมผสานกันอย่างลงตัวของสไตล์ คลาสสิค และ สไตล์โมเดิร์น เฉดสีที่เป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นโทนสีขาว เทา ครีมหรือน้ำตาลส่วนทรงหลังคาก็มักจะเป็น ทรงจั่ว ทรงปั้นหยา และมุงกระเบื้องที่มี รูปแบบลอนโค้งเอกลักษณ์ที่สวยงาม เช่น กระเบื้องคอนกรีต CT Venice และกระเบื้องคอนกรีต CT เพชรก็จะช่วยให้บรรยากาศของบ้านดูเป็นกันเอง และอบอุ่น  ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ร่วมสมัย โดยปัจจุบันโครงการบ้านใช้กัน เพราะคือการผสมผสานกันอย่างลงตัวของสไตล์ คลาสสิค และ สไตล์โมเดิร์น เฉดสีที่เป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นโทนสีขาว เทา ครีมหรือน้ำตาลส่วนทรงหลังคาก็มักจะเป็น ทรงจั่ว ทรงปั้นหยา และมุงกระเบื้องที่มีรูปแบบลอนโค้งเอกลักษณ์ที่สวยงาม เช่น กระเบื้องคอนกรีต CT Venice และกระเบื้องคอนกรีต CT เพชรก็จะช่วยให้บรรยากาศของบ้านดูเป็นกันเองและอบอุ่น

  สไตล์โมเดิร์น (Modern Style)  

หลายคนที่ได้ยินว่า บ้านสไตล์โมเดิร์น ก็จะนึกถึงบ้านทรงกล่องกับหลังคาแบน ซึ่งจะไม่มีการปูกระเบื้องหลังคาแต่ในความเป็นจริงนั้นการออกแบบให้หลังคาเป็นแบบเพิงแหงน ก็ช่วยให้บ้านออกมาโมเดิร์นได้ โดยเลือกมุงหลังคาแบบเรียบ อย่าง กระเบื้อง Adamas และใช้สีโทนขาว เทา หรือดำ จบด้วยการออกแบบส่วนอื่นของบ้านให้รู้สึกโปร่ง โล่ง สบายตา เพียงเท่านี้บ้านก็ออกมาโมเดิร์นสมใจแล้ว

**โดยในส่วนนี้ต้องอย่าลืมคำนึงถึงองศาความชันและโครงหลังคาด้วยว่า สามารถรับไหวไหม โดยความชันขั้นต่ำของกระเบื้อง Adamas อยู่ที่ 30 องศา**

  สไตล์นอร์ดิก (Nordic House Style)

  แบบบ้านที่กำลังได้รับความนิยม ด้วยดีไซน์สวยงาม เรียบง่าย ดูผ่อนคลายสบายตา โดยหัวใจหลักของหลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก คือหลังคาแผ่นเรียบที่จะเข้ามาตอบโจทย์ความเรียบง่ายโดยกระเบื้อง Adamas เลยรวมถึงโทนสีที่ควรเลือกสีธรรมชาติเป็นหลักเพื่อให้รู้สึกกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมภายนอก และอีกความโดดเด่นเลยก็คือการเลือกใช้หลังคาจั่วสามเหลี่ยมไร้ชายคา นั่นเอง  


งานผนัง

โครงสร้างผนัง  

โครงสร้างผนังที่เรารู้จัก หรือ ได้ยินอยู่บ่อยๆจะมีผนังอยู่ 2 ประเภท คือ

ผนังเบา

ผนังก่ออิฐฉาบปูน

โดยโครงสร้างผนังทั้ง 2 แบบมีการใช้งาน และ วัสดุที่ใช้งานแตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง แต่นอกจากผนังทั้ง 2 แบบนี้ ยังมีผนังรูปแบบอื่นๆอีก เช่น

ผนังกระจก 

ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ ผนังสำเร็จรูป

ผนังบล๊อคอิฐแก้ว

นอกจากนี้ในส่วนของโครงสร้างผนังไม่ว่าจะผนังก่ออิฐ ผนังเบา ผนังกระจก ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ก็ยังสามารถแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีก ว่าโครงผนังแต่ละแบบนั้นสามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยวิธีการใดแบ่ง และ มีขั้นตอนกระบวนการทำงานอย่างไร 

ผนังก่ออิฐ จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ

การก่ออิฐโชว์แนว 

การก่ออิฐฉาบปูน 


ผนังกระจก สามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะการติดตั้งได้ออกมา 3 ประเภท คือ 

กระจกยึดกับกรอบเพียง 2 ด้าน (two-side support)กระจกยึดกับกรอบเพียง 3 ด้าน (three-sided support)กระจกยึดกับกรอบเพียง 4 ด้าน (four-sided support)

ผนังเบา สามารถแบ่งได้ตามวัสดุที่ใช้ในการทำผนัง เช่น

แผ่นยิปซั่มบอร์ดแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด แผ่นซีเมนต์บอร์ด

ซึ่งแต่ละวัสดุก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความสามารถในการใช้งานภายใน และ ภายนอก การใช้งานนอกเนื้อจากการนำมาทำผนัง หรือสามารถนำไปใช้ในการทำงานส่วนอื่นได้ เช่น ทำแผ่นพื้น หรือ นำไปทำฝ้า 

  ผนังเบากั้นห้อง คืออะไร มีวัสดุกี่แบบ พร้อมเทคนิคเลือกใช้แบบมืออาชีพ

การกั้นห้องด้วยผนังเบา เป็นวิธีการกั้นห้องที่นำโครงสร้างของผนังเบามาใช้ในการแบ่งพื้นที่ขนาดใหญ่ออกเป็นสัดส่วน เพื่อให้เกิดพื้นที่แยกออกมาเป็นห้องต่างๆ ตามต้องการ และด้วยคุณสมบัติที่มีความคงทน ใช้งานง่าย จึงทำให้การก่อสร้างบ้าน หรือที่พักอาศัยต่างๆ นิยมใช้ผนังเบากั้นห้องมากขึ้น ดังนั้น หากใครกำลังสนใจเกี่ยวกับผนังเบากั้นห้อง และอยากเลือกใช้ให้ได้แบบมืออาชีพ สามารถติดตามได้ในบทความนี้!

  ทำความรู้จักกับผนังเบา ตัวช่วยขั้นเทพเรื่องบ้าน

ผนังเบากั้นห้อง คือ แผ่นกั้นน้ำหนักเบาที่ใช้แบ่งห้องพัก หรือที่อยู่อาศัยให้เป็นสัดส่วน โดยโครงผนังเบานั้นมีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น โครงไม้เนื้อแข็ง โครงเหล็กรูปพรรณ หรือโครงเหล็กสังกะสี ซึ่งโครงสร้างผนังเบาแต่ละรูปแบบ สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายด้วยวัสดุปิดผนังเบา ทำให้ในปัจจุบันผนังเบากลายเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการต่อเติม กั้นห้อง กั้นพื้นที่ หรือจัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่ต่างๆ โดยข้อดีของการใช้ผนังเบากั้นห้องไม่ได้มีดีแค่น้ำหนักที่เบาเท่านั้น แต่ผนังเบายังมีราคาไม่แพง จึงทำให้การกั้นห้องผนังเบาราคาถูกไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีให้เลือกใช้ทั้งผนังเบาภายนอก และผนังเบาภายใน ถ้าหากวันไหนอยากจะต่อเติม หรือรื้อถอน ก็สามารถทำได้ง่าย แถมหลังจากติดตั้งผนังเบาแล้วยังตกแต่งเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นการทาสี ติดวอลเปเปอร์ หรือฉาบปูนก็สามารถทำได้ง่ายๆ

  ประเภทของผนังเบาที่นำมาใช้กั้นห้อง

วัสดุหรือประเภทของผนังเบากั้นห้องที่เป็นที่นิยม มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ แผ่นยิปซั่ม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ และแผ่นไม้อัดซีเมนต์

แผ่นยิปซัม

บางคนอาจเคยได้ยินเรื่องของแผ่นยิปซัมกันร้อนที่ช่วยให้บ้านเย็นมาบ้างแล้ว นั่นเพราะประเภทและการใช้งานของแผ่นยิปซัมมีหลากหลาย ใช้ได้ทั้งงานฝ้าเพดาน และงานผนังเบาโดยแผ่นยิปซัม หรือยิปซัมบอร์ดนั้นผลิตจากผงยิปซัม นำมาขึ้นรูปเป็นแผ่น และปิดผิวด้วยกระดาษ

ข้อดี

เป็นวัสดุที่เบา ทนทาน  ผิวเรียบเนียนสวยงาม อีกทั้งยิปซัมยังราคาถูกกว่าวัสดุอื่นๆ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดตั้งง่าย ประหยัดเวลา เรียกว่ากั้นห้องได้ไวทันใจเจ้าของบ้านแน่นอน แถมแผ่นยิปซัมยังมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตัวอย่างเช่น

แผ่นยิปซัมสตรองบอร์ด เหมาะกับงานผนังที่ต้องการความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ

แผ่นยิปซัมกันร้อนพิเศษ เหมาะสำหรับใช้ในบริเวณที่ต้องการลดความร้อนสะสม ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศได้

แผ่นยิปซัมลดเสียงสะท้อน เหมาะสำหรับลดเสียงสะท้อนในบริเวณที่ใหญ่ กว้าง เกิดเสียงก้องได้ง่าย

แผ่นยิปซัมกันเชื้อรา เหมาะสำหรับบริเวณที่มีความชื้น อากาศถ่ายเทน้อย

แผ่นยิปซัมทนชื้น เหมาะสำหรับบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว

แผ่นยิปซัมทนไฟ เหมาะสำหรับงานผนังในอาคารสูง หรือบริเวณที่ต้องการอัตราการทนไฟสูง

แผ่นยิปซัมดัดโค้ง เหมาะสำหรับงานผนังโค้ง และงานผนังโค้งหุ้มเสา

ข้อจำกัด

เนื่องจากแผ่นยิปซัมต้องปิดด้วยกระดาษ จึงอาจถูกปลวกคุกคาม อีกทั้งคุณสมบัติของแผ่นยิปซัมอาจแตกต่างกันไปตามกรรมวิธีการผลิต โดยวัตถุดิบและส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดว่าแผ่นยิปซัมนั้นมีความแข็งแรง สามารถดูดซับความชื้น หรือกันเสียงได้มากน้อยเพียงใด หากต้องการเลือกแผ่นยิปซัมกั้นห้องให้เหมาะก็ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ความหนา ลักษณะขอบ และมาตรฐานของแผ่นยิปซัมนั้นให้ดี หากเลือกไม่ถูกประเภท ผลลัพธ์อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์

ทำมาจากผงซีเมนต์ ผสมใยไฟเบอร์ และซิลิก้า ไม่มีส่วนผสมของไม้ โดยตัวไฟเบอร์ที่ผสมลงไปจะทำให้ซีเมนต์มีความเหนียวมากขึ้น นอกจากนี้ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ยังใช้เทคนิคการอัดขึ้นรูปให้มีความบางได้อีกด้วย

ข้อดี

แผ่นไฟเบอร์เป็นวัสดุที่มีความทนทาน แข็งแรง และทนต่อสภาพอากาศ อีกทั้งความเหนียวจากไฟเบอร์ทำให้รูปทรงสามารถดัดโค้งได้ ทาสีทับได้เหมือนผนังซีเมนต์

ข้อจำกัด

ผนังเบาที่ทำจากแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์มีน้ำหนักค่อนข้างมาก แต่ว่าราคาอาจไม่ค่อยเบาเท่าไรนัก อีกทั้งยังมีความยุ่งยากในการรีไซเคิลอยู่พอควร รวมถึงการโป๊วรอยต่อให้ดูเนียนสวยเป็นผืนเดียวกันแบบการใช้แผ่นยิปซั่มนั้น อาจทำได้ค่อนข้างยาก และอีกข้อควรระวังคือต้องเลือกความหนาให้พอดี หากเลือกบางไปอาจทำให้เกิดรอยร้าวเมื่อยึดด้วยสกรูได้

แผ่นไม้อัดซีเมนต์

แผ่นไม้อัดซีเมนต์ หรือที่เรียกกันว่า ซีเมนต์บอร์ด ทำมาจากผงซีเมนต์ ผสมเศษไม้ อัดด้วยแรงดัน และขึ้นรูปเป็นแผ่น

ข้อดี

แผ่นไม้อัดซีเมนต์มีความแข็งแรงทนทาน ทนแดด ทนฝน เช่นเดียวกับแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ มีอายุการใช้งานยาวนาน และทาสีทับได้เหมือนผนังซีเมนต์

ข้อจำกัด

แผ่นไม้อัดซีเมนต์เป็นอีกหนึ่งวัสดุทำผนังเบาที่ราคาอาจไม่ได้เบาตามชื่อ อีกทั้งไม่สามารถดัดโค้งได้อย่างแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือแผ่นยิปซั่มแบบดัดโค้ง และแม้ว่าแผ่นไม้อัดซีเมนต์จะกันปลวกได้มีประสิทธิภาพ แต่หากมีการแตกหักจนเนื้อในที่มีไม้โผล่ออกมา ปลวกก็จะยกพวกตามมาด้วยเหมือนกัน

แผ่นไม้อัดยาง

แผ่นอัดไม้ยาง คือ  ไม้แผ่นบางที่นำมาอัดกันเป็นชั้นๆ ด้วยการใช้กาวเป็นตัวเชื่อมระหว่างไม้แต่ละแผ่น ทำให้แผ่นไม้อัดยางนั้นมีความหนาหลากหลายรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะมีความหนาตั้งแต่ 3-20 มิลลิเมตร และสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ข้อดี

ข้อดีของการเลือกใช้แผ่นไม้อัดยางมาทำผนังกั้นนั้นจะมีความเป็นธรรมชาติ มีความสวยงาม สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ มีความแข็งแรงสูง ซ่อมแซมง่าย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ข้อจำกัด

ข้อจำกัดของการเลือกใช้แผ่นไม้อัดยางมาทำผนังกั้นนั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดอาการบวมได้ง่าย เกิดความชื้น หรือเกิดเชื้อรา เพราะผลิตมาจากไม้

แผ่นไม้สังเคราะห์

แผ่นไม้สังเคราะห์ คือ แผ่นที่ผลิตมาจากเส้นใยไม้ผสมกับพลาสติก หรือพอลิเมอร์ และนำไปเข้ากระบวนการอัดให้เป็นแผ่น ทำให้แผ่นไม้สังเคราะห์นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับแผ่นไม้อัดยาง แต่จะมีความเป็นธรรมชาติน้อยกว่า

ข้อดี

ข้อดีของการเลือกใช้แผ่นไม้สังเคราะห์มาทำผนังกั้นนั้นจะมีความแข็งแรง และทนทานมากกว่า สามารถกันความชื้นได้ดี ไม่บวม ไม่พอง และป้องกันปลวกได้

ข้อจำกัด 

ข้อจำกัดของการเลือกใช้แผ่นไม้สังเคราะห์มาทำผนังกั้นห้องคืออาจมีโอกาสที่จะแตกหักได้ง่าย ในกรณีที่โดนความร้อน หรือโดนแสงแดดเป็นเวลานาน เพราะมีส่วนผสมของพลาสติก  

เรื่องควรรู้ก่อนเลือกใช้ผนังเบา

ได้ทำความรู้จักกับผนังเบากันไปแล้วในเบื้องต้นว่าวัสดุผนังเบามีกี่ประเภท และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง สำหรับหัวข้อนี้ จะมาแนะนำเรื่องควรรู้ก่อนเลือกใช้ผนังเบาอย่างไรให้ไม่พลาด เพื่อให้ได้งานที่ตรงใจมากยิ่งขึ้น

ผนังเบาไม่จำเป็นต้องใช้คานรองรับ

อย่างที่บอกว่าผนังเบาถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับผนังอิฐปูนที่ใช้สร้างบ้าน ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้คานเพื่อมารองรับน้ำหนักแบบผนังบ้านแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ผนังเบาจึงเหมาะกับการต่อเติมภายใน และกั้นห้องเพิ่มเติมหลังจากมีการก่อสร้างไปแล้วนั่นเอง

ผนังเบาควรมีโครงสร้างที่แข็งแรง

โครงสร้างของผนังเบามาจากโครงไม้ และโครงเหล็กชุบสังกะสีเป็นส่วนใหญ่ ความแข็งแรงจึงน้อยกว่าวัสดุที่ใช้สร้างบ้านอย่างอิฐ หรือปูนไปโดยปริยาย ขอแนะนำให้เลือกวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน โดยศึกษาจากคุณสมบัติของวัสดุที่เลือกซื้อ ความหนา กระบวนการผลิต และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม

ขนาดผนังเบากั้นห้องต้องเหมาะสมกับการใช้งาน

แล้วผนังเบาหนาเท่าไรจึงเหมาะสมกับการกั้นห้อง? คำตอบคือ หากเป็นแผ่นยิปซัมควรเลือกใช้ความหนาตามมาตรฐาน คือ 12 มิลลิเมตรขึ้นไป ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานกั้นห้องทั่วไป ทั้งนี้ ควรเสริมความแข็งแรงโดยการยึดกับโครงคร่าวที่เป็นวัสดุโลหะ แต่หากเป็นแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ควรเลือกขนาดความหนาที่ 8 มิลลิเมตร เนื่องจากวัสดุผนังเบากั้นห้องแต่ละชนิดมีความหนาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรเลือกขนาดความหนาของผนังเบาให้เหมาะสมนั่นเอง

ข้อดี-ข้อเสียของการเลือกใช้ผนังเบาในการกั้นห้อง

    **ข้อดีของการเลือกใช้ผนังเบาในการกั้นห้อง

      มีน้ำหนักเบา

      ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ผนังเบากั้นห้อง ควรทำความรู้จักกับข้อดี และข้อเสียของการเลือกใช้ผนังเบาเสียก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าการเลือกใช้ผนังเบากั้นห้องนั้นสามารถตอบโจทย์การใช้งานหรือไม่ ดังนี้

      สำหรับข้อดีของการเลือกใช้ผนังเบากั้นห้อง มีดังนี้

      ราคาไม่แพง

      ติดตั้งง่าย สะดวก และรวดเร็ว

      รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย

      ติดตั้งระบบน้ำ และไฟได้ง่าย

      มีให้เลือกใช้หลากหลายวัสดุ

      มีความทนทานสูง

      มีอายุการใช้งานนาน

      **ข้อเสียของการเลือกใช้ผนังเบาในการกั้นห้อง

      สำหรับข้อเสียของการเลือกใช้ผนังเบากั้นห้อง มีดังนี้

      มีความแข็งแรงน้อยกว่าผนังแบบอิฐ

      มีโอกาสที่จะเกิดการรั่วซึมตามรอยต่อผนัง

      รับน้ำหนักจากการแขวนได้น้อย

      มีโอกาสที่จะเกิดเชื้อรา หรือบวม จากความชื้นได้ง่าย  


        ตัวอย่างการกั้นห้องผนังเบาแบบง่ายๆ ด้วยแผ่นยิปซั่ม 

      ถ้าให้พูดถึงแผ่นยิปซัมคุณภาพดีที่มีให้เลือกใช้งานอย่างครอบคลุมเลือกแบรนด์เดียวได้ของครบ จบทุกปัญหา ก็คงต้องแนะนำ ยิปซัม ที่มีน้ำหนักเบา ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังมีแผ่นยิปซัมหลากหลายชนิดที่เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นผนังกั้นห้อง ออกแบบให้บ้านมีสัดส่วนการใช้สอยได้ตามต้องการ และติดตั้งได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้

      ขั้นตอนที่ 1 วัดขนาดของพื้นที่ที่ต้องการกั้นห้องให้เรียบร้อย

      ขั้นตอนที่ 2 ติดตั้งโครงยิปซัม โดยใช้โครงคร่าวผนังเบาฉาบเรียบสองตัว ได้แก่ โครงตัว C และโครงตัว U เริ่มด้วยการติดตั้งโครงตัว U ที่พื้นและเพดาน ยึดด้วยพุกเหล็กห่างกันชิ้นละ 60 ซม. พุกเหล็กตัวริมห่างจากปลายโครงไม่เกิน 5 ซม. จากนั้นนำโครงตัว C มาติดตั้งต่อ โดยสอดโครงตัว C เข้าไปในแนวตรง เสียบ และบิดให้ตั้งฉากกับโครงตัว U จากนั้นยึดให้แน่นด้วยสกรู

      ขั้นตอนที่ 3 ตัดแผ่นยิปซั่มให้เท่ากับขนาดที่ต้องการ จากนั้นใช้สกรูยึดให้เข้ากับผนัง หากมีขนาดที่ไม่พอดีก็สามารถตัดแต่งได้ง่ายๆ โดยไม่สูญเสียความแข็งแรงไป

      ขั้นตอนที่ 4 ใช้ปูนฉาบยิปซัม พลัสฉาบรอยต่อทั้งหมดสองรอบ ทิ้งไว้ให้แห้งสนิท

      ขั้นตอนที่ 5 ขัดให้เรียบด้วยกระดาษทราย และทำความสะอาดฝุ่นผงออกจากผนัง เพื่อให้ผนังเรียบ ก่อนลงสีทารองพื้น 1 รอบ และสีทับหน้า 2 รอบตามลำดับ เท่านี้ก็เนียนเรียบร้อย เพราะแผ่นยิปซัมมาพร้อมคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยให้ทาสีเรียบกริบได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สีเยอะ เป็นการประหยัดสีอีกด้วย

      ขั้นตอนที่ 6 ปล่อยทิ้งให้แห้ง แล้วมารอใช้งานห้องใหม่กัน! 

      ผนังเบากั้นห้องมีวัสดุหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผนังเบายิปซั่ม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นไม้อัดซีเมนต์ แผ่นไม้อัดยาง หรือแผ่นไม้สังเคราะห์ ซึ่งแต่ละชนิดต่างก็มีคุณสมบัติโดดเด่น มีข้อดี และข้อจำกัดต่างกัน ดังนั้น ถ้าจะเลือกใช้ผนังเบาต้องเลือกให้ถูกประเภท และเหมาะสมกับห้อง เท่านี้ก็สามารถกั้นห้องได้ง่ายๆ เพิ่มพื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วน อยู่สบายขึ้นอีกเป็นกอง

        วิธีการดูแลรักษา และการทำความสะอาดผนังเบาให้ใช้งานได้ยาวนาน

      การดูแลรักษา และทำความสะอาดผนังเบากั้นห้องให้ถูกต้อง สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของผนังเบาให้นานมากยิ่งขึ้นได้ รวมถึงทำให้ผนังเบายังคงดูใหม่ และดูสะอาดสะอ้านอยู่เสมอ โดยวิธีการดูแลรักษา และทำความสะอาดผนังเบาให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน มีดังนี้

      ปัดฝุ่นที่เกาะบริเวณผิวผนังเบาออกเป็นประจำ

      เช็ดสิ่งสกปรก หรือคราบต่างๆ ออกเสมอ

      เช็ดผนังด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดบิดหมาดอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

      ใช้น้ำยาทำความสะอาดผนังเบาแบบเข้มข้นในการทำความสะอาดอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อเดือน

      ไม่ปล่อยให้ผนังเบาเปียก หรือมีความชื้นเป็นเวลานาน

      ทุกครั้งที่ทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยา ต้องเช็ดด้วยผ้าแห้งปิดท้ายทุกครั้ง  

      งานบิ๊วอิน

      X